“ภาคใต้ เป็นภาคที่มีชุกมากที่สุดของประเทศไทย เรียกว่า ตกได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากได้รับอิทธิพลของลมมรสุม 3 ทิศทาง”
โดยตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนมกราคม ภาคใต้จะได้รับอิทธิพลจาก “ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ” ซึ่งพัดพาเอาไอน้ำและความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามายังแผ่นดิน ทำให้มีฝนตกชุกทางแถบชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกก่อนชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก จากนั้นพอเข้าเดือนกุมภาพันธ์ ก็จะเริ่มมี “ลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้” พัดพาเอาไอน้ำ ความชื้นและความร้อนจากเส้นศูนย์สูตรผ่านอ่าวไทย เข้ามายังแผ่นดิน โดยจะเริ่มพัดปกคลุมภาคใต้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายน พัดในช่วงฤดูร้อนนั่นเอง ทำให้มีอุณหภูมิสูงและมีฝนตกได้นั่นเอง และเมื่อเข้าฤดูฝน ลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ก็จะเริ่มเปลี่ยนทิศเป็น “ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้” ซึ่งพัดพาเอาไอน้ำและความชื้นจากมหาสมุทรอินเดียและทะเลอันดามันเข้ามายังแผ่นดิน โดยจะเริ่มพัดปกคลุม ในช่วงเดือนพฤษภาคม-เดือนกันยายน ทำให้เริ่มมีฝนตกชุกทางแถบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกก่อนชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก จากอิทธิพลของลมมรสุมทั้ง 3 ทิศทาง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกชุกเกือบตลอดทั้งปี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี อยู่ในช่วง1,418-4,183 มิลลิเมตร โดย ฝั่งตะวันตกของภาคจะมีฝนมากกว่าฝั่งตะวันออกของภาค จังหวัดระนอง มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยมากที่สุด ประมาณ 4,183 มิลลิเมตร และจังหวัดสุราษฏร์ธานีปริมาณฝนตกน้อยที่สุด ประมาณ 1,418มิลลิเมตร จากปัจจัยเหล่านี้ก็เป็นเหตุผลทำไมภาคใต้ไม่ว่าจะฝั่งอ่าวไทยหรืออันดามัน ถึงฝนชุกได้เกือบตลอดปีนั่นเอง