ประธาน กกต.ประกาศแบ่งเขตเลือกตั้งแล้วในพื้นที่ 77 จังหวัดทั่วประเทศ กทม.มี ส.ส.มากสุด 33 คน ส่วนจังหวัดละ 1 คนมีทั้ง ‘ตราด-ระนอง-สมุทรสงคราม-สิงห์บุรี’ อีสานยังครองแชมป์ผู้ทรงเกียรติ
01 ก.พ.2566 – นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ออกประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปครั้งแรก ภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2564 แล้วเมื่อช่วงค่ำวันที่ 31 ม.ค.2565 และมีผลบังคับใช้วันนี้
โดยเนื้อหาของประกาศระบุว่า ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2564 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจากเดิมจำนวนสามร้อยห้าสิบคน เป็นจำนวนสี่ร้อยคน กำหนดให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคน จังหวัดใดมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ไม่เกินหนึ่งคนให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง และจังหวัดใดมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกินหนึ่งคน ให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้งมีจำนวนเท่ากับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมี ซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวทำให้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศกำหนดไว้แต่เดิมเปลี่ยนแปลงไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 86 และมาตรา 224 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2564 มาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566 มาตรา 22 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2560 ประกอบข้อ 3 ของประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งเรื่อง การแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2566 ประกอบกับประกาศสำนักทะเบียนกลางเรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566 อันถือได้ว่าเป็นประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงประกาศให้ทราบเกี่ยวกับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีและจำนวนเขตเลือกตั้ง เพื่อเป็นการเตรียมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะมีขึ้น ดังนี้
1.จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 มีจำนวน 66,090,475 คน
2.จำนวนราษฎรโดยเฉลี่ย 165,226 คน ต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคน
3.จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด มีดังนี้
1.กรุงเทพมหานคร จำนวนราษฎร 5,494,932 คน จำนวน ส.ส. 33 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 33 เขต
2.กระบี่ จำนวนราษฎร 480,057 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
3.กาญจนบุรี จำนวนราษฎร 894,283 จำนวน ส.ส. 5 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 5 เขต
4.กาฬสินธุ์ จำนวนราษฎร 972,101 จำนวน ส.ส. 6 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 6 เขต
5.กำแพงเพชร จำนวนราษฎร 708,775 จำนวน ส.ส. 4 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 4 เขต
6.ขอนแก่น จำนวนราษฎร 1,784,641 จำนวน ส.ส. 11 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 11 เขต
7.จันทบุรี จำนวนราษฎร 536,144 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
8.ฉะเชิงเทรา จำนวนราษฎร 726,687 จำนวน ส.ส. 4 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 4 เขต
9.ชลบุรี จำนวนราษฎร 1,594,758 จำนวน ส.ส. 10 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 10 เขต
10.ชัยนาท จำนวนราษฎร 318,308 จำนวน ส.ส. 2 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 2 เขต
11.ชัยภูมิ จำนวนราษฎร 1,117,925 จำนวน ส.ส. 7 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 7 เขต
12.ชุมพร จำนวนราษฎร 509,385 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
13.เชียงราย จำนวนราษฎร 1,299,636 จำนวน ส.ส. 8 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 8 เขต
14.เชียงใหม่ จำนวนราษฎร 1,792,474 จำนวน ส.ส. 11 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 11 เขต
15.ตรัง จำนวนราษฎร 638,206 จำนวน ส.ส. 4 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 4 เขต
16.ตราด จำนวนราษฎร 227,808 จำนวน ส.ส. 1 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 1 เขต
17.ตาก จำนวนราษฎร 684,140 จำนวน ส.ส. 4 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 4 เขต
18.นครนายก จำนวนราษฎร 260,406 จำนวน ส.ส. 2 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 2 เขต
19.นครปฐม จำนวนราษฎร 921,882 จำนวน ส.ส. 6 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 6 เขต
20.นครพนม จำนวนราษฎร 716,647 จำนวน ส.ส. 4 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 4 เขต
21.นครราชสีมา จำนวนราษฎร 2,630,058 จำนวน ส.ส. 16 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 16 เขต
22.นครศรีธรรมราช จำนวนราษฎร 1,545,147 จำนวน ส.ส. 9 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 9 เขต
23.นครสวรรค์ จำนวนราษฎร 1,028,814 จำนวน ส.ส. 6 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 6 เขต
24.นนทบุรี จำนวนราษฎร 1,295,916 จำนวน ส.ส. 8 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 8 เขต
25.นราธิวาส จำนวนราษฎร 814,121 จำนวน ส.ส. 5 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 5 เขต
26.น่าน จำนวนราษฎร 474,539 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
27.บึงกาฬ จำนวนราษฎร 421,684 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
28.บุรีรัมย์ จำนวนราษฎร 1,576,915 จำนวน ส.ส. 10 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 10 เขต
29.ปทุมธานี จำนวนราษฎร 1,201,532 จำนวน ส.ส. 7 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 7 เขต
30.ประจวบคีรีขันธ์ จำนวนราษฎร 553,298 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
31.ปราจีนบุรี จำนวนราษฎร 497,778 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
32.ปัตตานี จำนวนราษฎร 732,955 จำนวน ส.ส. 4 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 4 เขต
33.พระนครศรีอยุธยา จำนวนราษฎร 820,417 จำนวน ส.ส. 5 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 5 เขต
34.พะเยา จำนวนราษฎร 461,431 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
35.พังงา จำนวนราษฎร 267,442 จำนวน ส.ส. 2 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 2 เขต
36.พัทลุง จำนวนราษฎร 521,619 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
37.พิจิตร จำนวนราษฎร 525,944 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
38.พิษณุโลก จำนวนราษฎร 844,494 จำนวน ส.ส. 5 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 5 เขต
39.เพชรบุรี จำนวนราษฎร 482,950 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
40.เพชรบูรณ์ จำนวนราษฎร 973,386 จำนวน ส.ส. 6 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 6 เขต
41.แพร่ จำนวนราษฎร 430,669 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
42.ภูเก็ต จำนวนราษฎร 417,891 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
43.มหาสารคาม จำนวนราษฎร 944,605 จำนวน ส.ส. 6 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 6 เขต
44.มุกดาหาร จำนวนราษฎร 351,588 จำนวน ส.ส. 2 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 2 เขต
45.แม่ฮ่องสอน จำนวนราษฎร 286,786 จำนวน ส.ส. 2 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 2 เขต
46.ยโสธร จำนวนราษฎร 531,599 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
47.ยะลา จำนวนราษฎร 545,913 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
48.ร้อยเอ็ด จำนวนราษฎร 1,291,131 จำนวน ส.ส. 8 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 8 เขต
49.ระนอง จำนวนราษฎร 194,226 จำนวน ส.ส. 1 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 1 เขต
50.ระยอง จำนวนราษฎร 759,386 จำนวน ส.ส. 5 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 5 เขต
51.ราชบุรี จำนวนราษฎร 865,807 จำนวน ส.ส. 5 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 5 เขต
52.ลพบุรี จำนวนราษฎร 735,293 จำนวน ส.ส. 4 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 4 เขต
53.ลำปาง จำนวนราษฎร 718,790 จำนวน ส.ส. 4 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 4 เขต
54.ลำพูน จำนวนราษฎร 399,557 จำนวน ส.ส. 2 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 2 เขต
55.เลย จำนวนราษฎร 637,341 จำนวน ส.ส. 4 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 4 เขต
56.ศรีสะเกษ จำนวนราษฎร 1,454,730 จำนวน ส.ส. 9 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 9 เขต
57.สกลนคร จำนวนราษฎร 1,145,187 จำนวน ส.ส. 7 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 7 เขต
58.สงขลา จำนวนราษฎร 1,431,063 จำนวน ส.ส. 9 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 9 เขต
59.สตูล จำนวนราษฎร 325,303 จำนวน ส.ส. 2 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 2 เขต
60.สมุทรปราการ จำนวนราษฎร 1,360,227 จำนวน ส.ส. 8 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 8 เขต
61.สมุทรสงคราม จำนวนราษฎร 189,453 จำนวน ส.ส. 1 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 1 เขต
62.สมุทรสาคร จำนวนราษฎร 589,428 จำนวน ส.ส. 4 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 4 เขต
63.สระแก้ว จำนวนราษฎร 562,816 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
64.สระบุรี จำนวนราษฎร 638,582 จำนวน ส.ส. 4 อ จำนวนเขตเลือกตั้ง 4 เขต
65.สิงห์บุรี จำนวนราษฎร 202,797 จำนวน ส.ส. 1 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 1 เขต
66.สุโขทัย จำนวนราษฎร 581,652 จำนวน ส.ส. 4 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 4 เขต
67.สุพรรณบุรี จำนวนราษฎร 830,695 จำนวน ส.ส. 5 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 5 เขต
68.สุราษฎร์ธานี จำนวนราษฎร 1,073,663 จำนวน ส.ส. 7 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 7 เขต
69.สุรินทร์ จำนวนราษฎร 1,372,910 จำนวน ส.ส. 8 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 8 เขต
70.หนองคาย จำนวนราษฎร 515,795 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
71.หนองบัวลาภู จำนวนราษฎร 508,325 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
72.อ่างทอง จำนวนราษฎร 272,587 จำนวน ส.ส. 2 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 2 เขต
73.อำนาจเจริญ จำนวนราษฎร 375,382 จำนวน ส.ส. 2 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 2 เขต
74.อุดรธานี จำนวนราษฎร 1,563,048 จำนวน ส.ส. 9 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 9 เขต
75.อุตรดิตถ์ จำนวนราษฎร 442,949 3 จำนวน ส.ส. คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
76.อุทัยธานี จำนวนราษฎร 323,860 2 จำนวน ส.ส. คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 2 เขต
77.อุบลราชธานี จำนวนราษฎร 1,869,806 จำนวน ส.ส. 11 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 11 เขต
รวมจำนวนราษฎร 66,090,475 จำนวน ส.ส. 400 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 400 เขต