โครงการป้องกันบรรเทาอุทกภัยเมืองชุมพร ตามพระราชดำริ (คลองท่าตะเภา) ช่วยให้เมืองชุมพรรอดพ้นอุทกภัยมาได้ 25 ปี
“แทบไม่ท่วมเลยก็ว่าได้ ยกเว้นที่ลุ่มต่ำ” นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ กรมชลประทานกล่าวเมืองชุมพร ประกอบด้วย 2 ลุ่มน้ำหลัก คือ คลองท่าตะเภา กับ คลองชุมพรพื้นที่ชุมชนเมือง ขนาบด้วยลุ่มน้ำคลองท่าตะเภาด้านบน และคลองชุมพรด้านล่างโครงการป้องกันและบรรเทาลุ่มน้ำคลองท่าตะเภา หลักๆ คือการผันหรือตัดยอดน้ำก่อนถึงตัวเมือง
น้ำที่ผ่านเมือง หลักๆ จะมาจากคลองท่าแซะกับคลองรับร่อด้านเหนือ ไหลรวมกันเป็นคลองท่าตะเภา อัตรา 1,100 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ผ่านตัวเมืองชุมพรซึ่งรองรับน้ำได้ไม่เกิน 350 ลูกบาศก์เมตร/วินาทีน้ำไม่ท่วมเมืองชุมพรได้อย่างไร
การดำเนินการตามพระราชดำริ คือการลดทอนน้ำเป็นระยะๆ ก่อนถึงตัวเมือง โดยการขุดเชื่อมคลองละมุเข้ากับคลองท่าแซะ เพื่อดึงน้ำไปลงแก้มลิงหนองใหญ่ หน่วงน้ำ และไว้ใช้ประโยชน์ในฤดูแล้งด้วยถัดลงมา เป็นคลองหัววัง-พนังตัก คลองไม้แก้ว และคลองท่าตะเภา ตามลำดับ
โดยการขุด ขุดลอก ขยาย เพิ่มขีดความสามารถในการรองรับน้ำหลากมากขึ้นกระทั่งในตัวเมืองชุมพร นอกจากคลองท่าตะเภาแล้ว ยังมีคลองท่านางสังข์ก็ปรับปรุงพัฒนาให้ระบายน้ำดีกว่าเดิม
กระบวนการเหล่านี้ ทำให้เมืองชุมพรรอดพ้นอุทกภัยจากน้ำหลากมาได้จนถึงวันนี้ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่ง “ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงศึกษาและวางแผนอย่างใกล้ชิด รับสั่งให้หน่วยงานต่างๆ รายงานข้อมูล เช่น ปริมาณน้ำฝนต้นน้ำคลองท่าแซะ ให้ ตชด. ทำหน้าที่วัด เครื่องมือวัดกรมชลประทานจัดเตรียมให้ สมัยนั้นยังไม่มีระบบโทรมาตร ทำให้การพัฒนาเดินหน้าได้ แม้มีข้อจำกัด” นายเฉลิมเกียรติกล่าว
แก้มลิงหนองใหญ่ พื้นที่ร่วม 2,000 ไร่ รองรับน้ำได้ 3 ล้านลูกบาศก์เมตร กลายเป็นแหล่งน้ำสำคัญสำหรับการประปาในเมือง การเกษตรซึ่งเปลี่ยนโฉมหน้าเป็นพื้นที่ปลูกทุเรียน ส้มโอ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา รวมทั้งพื้นที่การท่องเที่ยว
ส่วนโครงการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำคลองชุมพรนั้น เป็นการนำหลักการเดียวกับโครงการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยเมืองชุมพร (คลองท่าตะเภา) คือการผันน้ำเลี่ยงจุดน้ำท่วมหลัก คือ บริเวณสี่แยกปฐมพร
แยกนี้สำคัญมาก เป็นจุดตัดถนนเอเชีย 41 ถือเป็นหัวใจที่จะลงสู่ภาคใต้กับถนนเพชรเกษมที่จะแยกเข้าตัวเมืองชุมพร ปกติน้ำท่วมประจำทุกปี เดือดร้อนไม่สามารถสัญจรขึ้น-ลงภาคใต้ได้โดยตรง ต้องอ้อมไปทางระนอง ซึ่งไกลกว่าแทน
ต้นน้ำคลองชุมพรมาจาก อ.กระบุรี จ.ระนอง ชายแดนต่อ จ.ชุมพร ปริมาณน้ำมากถึง 550 ลบ.ม./วินาที ทำให้น้ำท่วมแยกปฐมพร เพราะคลองชุมพรรับน้ำได้เพียง 140 ลบ.ม./วินาที
กรมชลประทาน วางแผนขุดขยายคลองนาคราช รองรับน้ำได้ 350 ลบ.ม./วินาที ขณะเดียวกัน ปรับปรุงขยายคลองชุมพรเดิมให้รับน้ำได้เพิ่มเป็น 200 ลบ.ม./วินาที
ตัดยอดน้ำด้วย 2 คลองดังกล่าว น้ำก็จะเลิกท่วมบริเวณสี่แยกปฐมพรในไม่ช้า ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ทั้งคลองประตูระบายน้ำและอาคารชลประทาน คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2567
เป็นปีที่เมืองชุมพรจะมีเครื่องมือรองรับปัญหาอุทกภัยโดยสมบูรณ์ ทั้งลุ่มน้ำคลองท่าตะเภาและลุ่มน้ำคลองชุมพร
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก
Line @Matichon ได้ที่นี่